
มิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ
บริษัทมุ่งมั่นในการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน โดยดำเนินธุรกิจและแสวงหาธุรกิจใหม่ ๆ ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการต่อต้านการทุจริตเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและความรับผิดชอบต่อการดำเนินงานของบริษัท
บริษัทดำเนินการโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจและผู้ถือหุ้น พร้อมทั้งปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามนโยบายสำคัญต่าง ๆ เช่น นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณในการทำงาน นโยบายต่อต้านการทุจริต และนโยบายการใช้ข้อมูลภายใน
นโยบายบริษัทอื่นๆ
นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
นโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืนและการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
นโยบายการจ่ายเงินปันผล
นโยบายการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการกระทำผิด
นโยบายการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในของบริษัท
นโยบายการสืบทอดตำแหน่ง
นโยบายเกี่ยวกับการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์
นโยบายบริหารความเสี่ยง
นโยบายความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
การกำหนดประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนขององค์กร
บริษัทฯ ได้กำหนดให้มีวิเคระห์และการประเมิน เพื่อระบุประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนที่มีความสอดคล้องกับการดำเนินงานของบริษัทฯ ความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนผลกระทบที่อาจมีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนที่มีผลต่อมูลค่าขององค์กร ทั้งนี้ ในขั้นตอนการประเมินและระบุประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ ให้ครอบคลุมทุกกิจกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยพิจารณาจากเป้าหมายและทิศทางการดำเนินธุรกิจของบริษัท วิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ และปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ที่อาจส่งผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท
บริษัทฯ มีเป้าหมายที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และได้พิจารณาคัดเลือกประเด็นที่มีความสำคัญให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาความยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยมีประเด็นด้านความยั่งยืน 22 ประเด็น และนำประเด็นมากำหนดในตาราง Materiality Matrix ที่แบ่งเป็น 4 ระดับ ตามความสำคัญที่มีต่อองค์กรและผู้มีส่วนได้เสีย พบว่ามีประเด็นด้านความยั่งยืนที่มีความสำคัญมากจำนวน 10 ประเด็น ซึ่งครอบคลุมปัจจัยใน 3 มิติ ได้แก่ ธรรมาภิบาล เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนี้

การระบุประเด็นด้านความยั่งยืน

การประเมินประเด็นที่มีผลต่อผู้มีส่วนได้เสีย

การจัดลำดับความสำคัญ

การทบทวนและรับรอง

การเปิดเผยและใช้ประโยชน์
แผนภาพแสดงประเด็นด้านความยั่งยืน
- 1 การกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณธุรกิจ การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน และการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ
- 2 การบริหารความเสี่ยงและการจัดทำแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) เพื่อรองรับเหตุวิกฤตอย่างรอบด้าน
- 3 การบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยของระบบข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
- 6 คุณภาพ ความปลอดภัย และความเป็นอินทรีย์ของผลิตภัณฑ์ผัก
- 7 การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าและผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด
- 12 การบริหารจัดการขยะอินทรีย์และเศษอาหารจากฟาร์มและหน้าสาขา
- 13 การบริหารจัดการด้านพลังงานและทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
- 16 การเคารพสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทาน
- 17 การดูแลสุขภาพ ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิตของพนักงาน
- 18 การพัฒนาศักยภาพพนักงานและผู้นำชุมชน
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่
1. เหตุการณ์แผ่นดินไหว
การเกิดแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ โดยเฉพาะพื้นที่ดำเนินการหลักที่ตั้งอยู่ในเขตเสี่ยงภัย ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ความเสียหายต่ออาคารสถานที่และทรัพย์สินของบริษัทฯ การหยุดชะงักของการดำเนินงาน ความล่าช้าในห่วงโซ่อุปทาน การลดลงของจำนวนลูกค้า และค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมหรือฟื้นฟูสถานที่ ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังอาจต้องเผชิญความท้าทายในการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management) และความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของพนักงานและลูกค้า
การบริหารความเสี่ยง
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของความเสี่ยงดังกล่าว ที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจและการดำเนินงาน จึงได้มีการกำหนดแผนและปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน พร้อมทั้งติดตามสถานการณ์ปัจจุบัน และประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
2. โรคระบาดที่เกิดขึ้นใหม่
การแพร่ระบาดของโรคติดต่อชนิดใหม่ เช่น โรคอุบัติใหม่ (Emerging Infectious Diseases) มีแนวโน้มเกิดบ่อยขึ้นในระดับโลก และอาจแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนของธุรกิจ บริษัทฯ อาจเผชิญกับความเสี่ยงด้านแรงงาน เช่น การขาดแคลนพนักงานชั่วคราวจากการป่วยหรือมาตรการกักตัว ความล่าช้าในการขนส่งสินค้า และอุปสรรคด้านโลจิสติกส์ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันและดูแลสุขภาพพนักงาน
นอกจากนี้ ภาวะความไม่แน่นอนยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค การชะลอการจับจ่ายใช้สอย และอาจมีผลกระทบระยะยาวต่อการวางแผนการลงทุนของบริษัทฯ
การบริหารความเสี่ยง
บริษัทฯ ตระหนักและให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงจากโรคระบาดที่เกิดขึ้นใหม่ โดยวางแผนการติดตามสถานการณ์และแนวโน้มของโรคอย่างใกล้ชิดผ่านหน่วยงานสาธารณสุขระดับชาติและนานาชาติ พร้อมกำหนดแผนตอบสนองฉุกเฉิน เช่น การปรับรูปแบบการทำงานให้เหมาะสม (เช่น Work from Home), จัดหาวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรค, รวมถึงการให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันและดูแลสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีการเตรียมแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan) เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรสามารถเดินหน้าต่อได้แม้เกิดภาวะวิกฤต และลดผลกระทบต่อพนักงาน ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ อย่างรอบด้าน
เอกสารสำคัญของบริษัท
การแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการกระทำผิด
หากคุณไม่ได้รับการลงทุนที่เป็นธรรม หรือพบการกระทำที่เป็นการกระทำผิดเกี่ยวกับการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมต่อบริษัทและนักลงทุน คณะกรรมการตรวจสอบ / คณะกรรมการบริษัทจะดำเนินการตามคำร้องเรียนและเบาะแสที่คุณแจ้งให้เราทราบโดยเร็วที่สุด เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่นักลงทุน
แบบฟอร์มร้องเรียน